การปกครองในระบอบประชาธิปไตย แบ่งอำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย
เรียบเรียงโดยทีมงาน www.legendnews.net
ฝ่ายนิติบัญญัติ อันประกอบไปด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา รวมกันเป็นรัฐสภาโดยประชาชนเป็นผู้เลือกตั้ง ผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา
ฝ่ายบริหาร นายกรัฐมนตรี คือผู้นำของรัฐบาล มาจากการลงมติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาจากนั้นจึงมีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ไทย
คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดิน ว่าการกระทรวงในประเทศไทยทั้ง 20 กระทรวงและสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง ตลอดจนร่างและดำเนินการตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา มีสถานที่ทำงานอยู่ที่ทำเนียบรัฐบาล รัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกรัฐสภา
ฝ่ายตุลาการ ดูบทความหลักที่: ศาลไทย
ศาลไทยเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ผู้พิพากษาทุกระดับจำต้องได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ไทย ศาลปฏิบัติการในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ศาลไทยมี 4 ประเภท ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (Asian Human Rights Commission) วิจารณ์ว่า ระบบศาลไทย โดยเฉพาะกระบวนการยุติธรรมทางอาญานั้น "เลอะเทอะ" และไม่สามารถสร้างความมั่นใจว่า กระบวนพิจารณาจะดำเนินไปอย่างรวดเร็วและเป็นธรรม แม้คดีลอบฆ่าประมาณ ชันซื่อ ประธานศาลฎีกาเอง ศาลชั้นต้นยังใช้เวลาพิจารณาถึง 15 ปี คือ ตั้งแต่ปี 2536 ถึงปี 2551 ในช่วงดังกล่าว จำเลยต้องขึ้นศาล 461 ครั้ง และถูกผู้พิพากษา 91 คนไต่สวน จำเลยบางคนตายก่อนพิพากษา ส่วนประมาณตายอย่างสงบด้วยโรคปอดติดเชื้อเมื่อปี 2550
ที่มา https://th.wikipedia.org
คดีลอบฆ่าประมาณ ชันซื่อ คลิกเพื่ออ่านข่าว
ข้าพเจ้ามีข้อสรุปว่า การเมืองเป็นเรื่องจริงจังมากเกินกว่าที่จะปล่อยให้เป็นเรื่องของนักการเมืองเท่านั้น (ชาร์ลส เดอ โกลล์) |